Knowledge
10 ทักษะแห่งอนาคต กุุญแจสู่การพัฒนานักเรียนให้ทันยุค 4.0
5 years ago 17518EDUCA ชวนคุณครูเรียนรู้ 10 ทักษะแห่งอนาคต เพื่อหาคำตอบว่าครูจะเตรียมนักเรียนให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในยุค 4.0 และจะพัฒนาทักษะแก่นักเรียนให้พร้อมต่อความต้องการของโลกในอนาคตได้อย่างไร
เรียนรู้เครื่องมือและแนวทางการพัฒนานักเรียนสู่โลกการแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากการเกิดขึ้นของสังคมสื่อดิจิทัล และการแทนที่ของเทคโนโลยีประสิทธิภาพสูง เมื่อคนมีอายุยืนมากขึ้นและมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ง่ายดายผ่านบริบทสังคมเสมือน เกิดปริมาณข้อมูลมหาศาลและโอกาสในการเผชิญกับบริบทวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลายมากยิ่งขึ้น สิ่งเหล่านี้เปลี่ยนโครงสร้างทางสังคมและชีวิตการทำงานให้มีความซับซ้อนและยากที่จะรับมือ ครูจะทำอย่างไรเพื่อจะส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง
1. การรับรู้ทางอารมณ์ Sense making
Sense-making หมายถึง ความสามารถในการทำความเข้าใจความหมายอันลึกซึ้ง หรือนัยยะในสิ่งที่แสดงออกให้เห็นได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เหนือกว่าเครื่องจักร อุปกรณ์ หรือ เทคโนโลยีจะสามารถทำได้ คือ การรับรู้ทางอารมณ์ จากการพัฒนาภายในจิตใจด้านอารมณ์ความรู้สึกที่เป็นแรงขับสำคัญของการเป็นมนุษย์สู่การสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ
2. ความฉลาดทางอารมณ์และสังคม Social intelligence
Social Intelligence คือ ความสามารถในประเมินและรับรู้ทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นในวงสังคมหรือบุคคลรอบข้าง รวมทั้งสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม
3. การคิดประยุกต์สร้างสรรค์ Novel and adaptive thinking
Novel & Adaptive Thinking คือ ความสามารถในการแก้ปัญหาจากการคิดประยุกต์ต่อยอดและคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ให้ดียิ่งขึ้นและแตกต่างจากสิ่งที่มีอยู่เดิม
4. การอยู่ร่วมในสังคมหลากวัฒนธรรม Cross cultural competency
Cross-Cultural Competency หมายถึง ความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่นและเป็นสุขในบริบททางวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลาย
5. การคิดคำนวณและให้เหตุผล Computational thinking
Computational Thinking หรือ การคิดคำนวณและให้เหตุผล หมายถึง ความสามารถในการแปลความหมายของข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่อย่างมากมาย และสามารถทำความเข้าใจชุดข้อมูลและนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้/p>
6. การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล New Media Literacy
New Media Literacy หรือ การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล คือ ความสามารถในการใช้สื่ออย่างมีวิจารณญาณ สามารถพัฒนาองค์ความรู้บนสื่อสารสนเทศดิจิทัล และสามารถใช้สื่อดิจิทัลในการสื่อสารให้เกิดประโยชน์ได้
7. การเรียนรู้ข้ามศาสตร์ Transdisciplinary
Transdiciplinarity หรือ การเรียนรู้ข้ามศาสตร์ เป็นความสามารถในการทำความเข้าใจเนื้อหาและหาความเชื่อมโยงร่วมศาสตร์ สู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่ไม่ได้ยึดติดอยู่กับศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งเท่านั้น
8. การคิดเชิงออกแบบ Design Mindset
Design Mindset หรือการคิดเชิงออกแบบ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะรายวิชาศิลปะหรือการออกแบบเพียงเท่านั้น แต่หมายถึงทักษะในการนำความคิดสู่การพัฒนาชิ้นงานและมีการบวนการทำงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้ ซึ่งเป็นทักษะที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในบริบทต่างๆ อีกมากมาย
9. การจัดการความคิดในการรับรู้ข้อมูล Cognitive load management
Cognitive Load Management หรือ การจัดการความคิดในการรับรู้ข้อมูล เป็นความสามารถในการจัดลำดับและแยกแยะข้อมูล ข่าวสารที่มีความสำคัญออกมาจากปริมาณข้อมูลมหาศาล และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับข้อมูลและความรู้เดิมให้เกิดเป็นความรู้ใหม่ได้
10. การทำงานแบบร่วมมือบนโลกเสมือน Virtual collaboration
Virtual Collaboration เป็นความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นในสภาวะการทำงานบนโลกเสมือนผ่านสื่อดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงาน มีความผูกพันและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรในบริบทสังคมเสมือนจริงได้
บทความนี้สนับสนุนโดย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
ภาพปก และภาพประกอบ: กชกร มั่นคงเจริญกิจ
ข้อมูลอ้างอิง จาก:
www.bangkokbiznews.com/blog/detail/484681
www.iftf.org/fileadmin/user_upload/images/whatwedo/IFTF_FutureWorkSkillsSummary.gif
www.weforum.org/agenda/2016/01/the-10-skills-you-need-to-thrive-in-the-fourth-industrial-revolution/