Knowledge

Growth Mindset สิ่งที่อยากให้มีติดตัว สําหรับนักเรียนที่รักของครู

Growth Mindset สิ่งที่อยากให้มีติดตัว สําหรับนักเรียนที่รักของครู

 3 years ago 4954

เรียบเรียง: สุรเชษฐ์ ตรรกโชติ
Content Developer Cohort 2 Alumni Teach For Thailand
ภาพ: กชกร มั่นคงเจริญกิจ

          จากงานวิจัยหลายๆ งาน ได้พูดถึงกรอบแนวคิด (Mindset) โดยแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ 1.กรอบแนวคิดแบบพัฒนาได้ (Growth Mindset) 2.กรอบแนวคิดแบบตายตัว (Fixed Mindset) ซึ่งในหลายๆ งานวิจัยนั้นบ่งชี้ว่า กรอบแนวคิดแบบพัฒนาได้เป็นสิ่งที่จําเป็นและ ดีกว่า ดังนั้นเราจะมาทําความเข้าใจในหลักของ Growth Mindset ที่จะส่งผลดีในด้านที่จําเป็นของนักเรียนของเรา

          Growth Mindset คือความเชื่อที่ว่า คุณสมบัติพื้นฐานของคุณคือสิ่งที่สามารถพัฒนาได้ด้วยความพยายาม เชื่อว่าถึงแม้ว่าทุกคนอาจจะแตกต่างกันในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นพรสวรรค์ที่ติดตัวมาแต่กําเนิด ความถนัด ความสนใจ และนิสัยใจคอ แต่ทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงและ เติบโตได้ด้วยความพยายาม และประสบการณ์

          ปัญหาในปัจจุบัน เด็กไทยส่วนมากไม่กล้าที่จะแสดงความคิดเห็น ไม่กล้าที่จะถาม ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากความรู้สึกหวาดกลัว สิ่งที่คนอื่นมองกลับมาหาเรา กลัวดูโง่ อาย กลัวคําวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะสภาพแวดล้อม วัฒนธรรม ที่ส่งผลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ต่อพฤติกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ไม่ได้เกิดการพัฒนา ต่อยอดจนเกิดความสําเร็จได้เลย ดังนั้นกรอบแนวคิดแบบพัฒนาได้ สามารถนํามาช่วยสร้างพฤติกรรมที่ดีขึ้นได้และ นําไปสู่การเรียนรู้ พัฒนา สู่ความสําเร็จ โดยสรุปเนื้อหาบางส่วนที่เกี่ยวข้อง จากหนังสือ “Mindset” เขียนโดย Carol S. Dweck ซึ่งส่วนหนึ่งกล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า “กรอบแนวคิดแบบพัฒนาได้ ช่วยให้คนเรารักในสิ่งที่ตนเองทํา และยังคงรักมันในขณะที่ต้องเผชิญกับความยากลําบาก” ซึ่งเป็นสิ่งที่สําคัญ และน่าเรียนรู้ว่าทําให้เกิดสิ่งนี้ได้อย่างไร สรุปและแบ่งออกมาได้คือ กระบวนการคิดเพื่อเรียนรู้ นําไปสู่ ความมั่นใจในตนเอง

          กระบวนการคิดเพื่อเรียนรู้ คือกระบวนการคิดที่จัดลําดับขั้นตอนในการเรียนรู้อย่างเข้าใจ เพื่อให้ได้มาซึ่งทักษะหรือเป้าหมายนั้นๆ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราอยากจะทําผัดกะเพราขึ้นมาหนึ่งจาน สิ่งที่เราต้องเตรียม ต้องศึกษามีอะไรบ้าง แล้วผลลัพธ์คือรสชาติเป็นอย่างไร และเมื่อผลลัพธ์ของรสชาติไม่ได้ตามความต้องการที่วางไว้ เราจะแก้ไขปัญหาอย่างไร จากตัวอย่างที่ยกมาจะสามารถแบ่งขั้นตอนหลักๆ คือ ตั้งเป้าหมาย จัดเตรียม (แพลน) ลงมือทํา และแก้ไขข้อบกพร่อง เมื่อนักเรียน เรียนรู้กระบวนการเหล่านี้อย่างสมํ่าเสมอ พวกเขาจะสามารถเข้าใจว่า ความสําเร็จในแต่ละครั้ง จะต้องมีความพยายามเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง และเมื่อการตั้งเป้าหมายมีคุณค่ามากพอหรือเป็นสิ่งที่พวกเขาชื่นชอบ ความขี้เกียจ อาจจะไม่ใช่ปัญหาสําหรับเขาอีกต่อไป และเมื่อเจอปัญหา มุมมองของพวกเขาจะถูกเปลี่ยนเป็นความท้าทายใหม่ๆ และ จะพยายามผ่านมันไปได้ด้วยความสนุก ซึ่งจะส่งเสริมในส่วนต่อไป

          ความมั่นใจในตนเอง เป็นสิ่งสําคัญมากสิ่งหนึ่งที่จะส่งเสริมพฤติกรรม กล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็น และช่วยให้เราผ่านปัญหา ต่างๆ ไปได้ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ทําให้เกิดการเรียนรู้ เมื่อเราถามว่า “แล้วคนที่มีกรอบแนวคิดแบบตายตัว คือไม่มีความมั่นใจรึเปล่า” คําตอบคือ ไม่ใช่ ทั้งสองกรอบแนวคิด มีความพฤติกรรมเชื่อมั่นในตนเองได้เหมือนกัน ส่วนหนึ่งในหนังสือ “Mindset” พูดถึงความมั่นใจสําหรับกรอบแนว คิดทั้งสองแบบไว้ว่า

“ยกเว้นบางเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คนที่มีกรอบแนวคิดแบบตายตัว ความมั่นใจในตนเองจะสั่นคลอนเมื่อเกิดความล้มเหลว แถมความพยายามก็ทําให้ความมั่นใจของพวกเขาสั่นคลอนได้เช่นกัน”

“ประเด็นอันน่าทึ่งที่ฉันได้เรียนรู้จากงานวิจัยของตนเองคือในกรอบความคิดแบบพัฒนาได้ คุณไม่จําเป็นต้องมีความมั่นใจ ตลอดเวลา สิ่งที่ฉันกําลังจะบอกคือ แม้คุณจะคิดว่าตัวเองไม่เก่งในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่คุณสามารถทุ่มสุดตัวและพยายามพัฒนาตัวเองอย่างเต็มที่ อันที่จริงแล้ว การที่คุณทุ่มเทให้กับอะไรบางอย่างเพราะคุณไม่ชํานาญเป็นคุณสมบัติที่ยอดเยี่ยมมากของกรอบแนวคิดแบบพัฒนาได้ คุณสามารถทําอะไรบางอย่างและ สนุกไปกับมันได้โดยที่ไม่ต้องคิดว่าตัวเองเก่งอยู่แล้ว”

          บทความข้างต้นแสดงให้เห็นถึง สถานการณ์บางอย่างที่อาจจะไม่ต้องใช้ความมั่นใจในการเรียนรู้ก็ได้ ซึ่งในกรอบแนวคิดที่พัฒนาได้ อาจจะมีมุมมองของความมั่นใจที่แตกต่างออกไปที่จะส่งผลให้ความล้มเหลวเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้โดยไม่เสียความมั่นใจไป แต่ในทางกลับกันสําหรับกรอบแนวคิดแบบตายตัว ความล้มเหลว นําพามาสู่การสูญเสียความมั่นใจ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบในระยะยาวได้ ดังนั้นการรักษาความ มั่นใจให้มันยังคงอยู่ อาจสําคัญมากกว่าการมีความมั่นใจมากมายก็เป็นได้ เพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกในด้านลบ หดหู่ คิดร้าย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อทุกคน

Growth mindset มีรายละเอียดต่างๆ ให้ศึกษามากมายหลายด้านทั้ง การเป็นผู้นําความสัมพันธ์ การเปลี่ยนแปลง และอีกมากมาย ซึ่งสามารถศึกษาและ อ่านได้จากหนังสือ “Mindset” เขียนโดย Carol S. Dweck แปลโดย คุณ พรรณี ชูจิรวงศ์

อ้างอิง
แผนการสอน สร้าง GROWTH MINDSET ครูต้องคิดว่าเด็ก ‘ทำ’ ได้ (2019, June 24). Retrieved June 10, 2020, from https://thepotential.org/knowledge/growth-mindset-coach/


TAG: #ทักษะศตวรรษที่21 #จิตวิทยาแนะแนว #จิตวิทยาการเรียนรู้ #ห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 #Growth mindset